Group Work Set 1

Resource : 
http://www.qualityresearchinternational.com/glossary/blendedlearning.htm
http://asianvu.com/bookstoread/framework/blended-learning.pdf
http://www.ion.illinois.edu/resources/tutorials/overview/elements.asp
GroupWork Set1 Group3 : Plan
Asawin
Q1 :What are the focusing points of online Learning?
Kanungnit
Q2 : Do they have benefits and limitations? Why are they?
Varintorn
Q3 : What are the key elements of the online program?
Jeeranan
Q4 : What are the focusing points of “Blended Learning” ?

What are the focusing points of “Blended Learning”?
Blended Learning คืออะไร
Graham, Allan, and Ure (2003) ได้ให้คำนิยามของการเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning) ไว้ดังนี้
การรวบรูปแบบการเรียนการสอน (Combining instructional modalities)
การรวมวิธีการเรียนการสอน (Combining instructional methods)
การรวมการเรียนแบบออนไลน์ และการเรียนการสอนในชั้นเรียน(Combining online and face-to-face instruction)
Bersin (2004) กล่าวว่า การใช้ e-learning เพื่อเป็นกิจกรรมเสิรมของการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เป็นการจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(Blended Learning)       ซึ่งอาจเป็นการผสมผสานในระดับกิจกรรมการเรียนรู้นั้นต้องคำนึงถึงการออกแบบและกำหนดกิจกรรม 3 ประการได้แก่
1.      การออกแบบและกำหนดกิจกรรมที่เป็นแบบฝึกหรือการทบทวนความรู้ให้แก่ผู้เรียน
2.      การออกแบบและกำหนดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ร่วมกัน (collaboration) เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม
3.      การออกแบบและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้หลักที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามที่ได้ตั้งจุดประสงค์ไว้
สมาคมสโลน(Allen and Seaman, 2005) ได้ให้ความหมานของการเรียนแบบผสมผสานว่า มีสัดส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอทางอินเทอร์เน็ตเป็นร้อยละ 30-79 และมีการนำเสนอเนื้อหาผ่านอินเทอร์เน็ต มีการใช้กระดานสนทนาออนไลน์ร่วมกับการเรียนการสอนในห้องเรียน ส่วนที่มีเนื้อหาที่นำเสนอทางอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าร้อยละ 30 นั้น จัดเป็นเทคโนโลยีเว็บช่วยการเรียนการสอน เพราะมีกิจกรรมที่นำเสนอทางออนไลน์ไม่มาก และเน้นการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นหลักอยู่
ดังนั้น จึงพอสรุปคำจำกัดความของการเรียนแบบผสมผสาน(Blended Learning) ได้คือ การรวบรูปแบบการเรียนการสอน (Combining instructional modalities) ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะความรู้ทักษะกระบวนการตลอดจนความเข้าใจสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนและครูโดยมีหลักการที่สำคัญคือการนำเอาจุดแข็งหรือจุดเด่นของการเรียนรู้แต่ละแบบเข้าด้วยกัน เพราะจุดเด่นของแต่ละวิธีจะช่วยชดเชยซึ่งกันและกันได้อย่างเหมาะสมกับบริทบที่เป็นอยู่ในสภาวะนั้นๆ
           
ฺจุดมุ่งหมายของการเรียนแบบผสมผสาน
1. ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์แบบเปิด( open interaction)  ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยโดยอาจจะอยู่คนละห้องเรียน   กระตุ้นกลุ่มผู้เรียนให้มีการจดบันทึกและอ่านในหัวข้อที่ทำการอภิปรายภายในกลุ่มซึ่งอาจจะใช้ WebCT มาช่วย เช่น Discussion Forum (on line)จากนั้นผู้เรียนได้กำหนดหัวหน้ากลุ่มและผู้ช่วย เพื่อทำหน้าที่ผู้ประสานงาน ผู้สังเกต ผู้กระตุ้น ผู้สร้างบรรยากาศ เอื้ออำนวยให้เกิดการสื่อสารแนวราบ และรวบรวมสรุปการอภิปรายภายในกลุ่มโดยผู้ช่วยหัวหน้ากลุ่มผู้สอนจัดให้กิจกรรมการอภิปรายทางออนไลน์ของผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลผู้เรียน เช่น ผู้สอนเข้าไปดูการอภิปรายของผู้เรียนที่เขียนไว้ในบอร์ดออนไลน์เป็นต้น
ลดเวลาในการเรียนในชั้นเรียน (face-to-face) ลงระหว่างที่ผู้เรียนมีกิจกรรมออนไลน์


  1. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง(knowledge creation) ผู้สอนเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นหรือให้คำปรึกษาในห้องเรียนออนไลน์และสนับสนุนให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้แบบออนไลน์ทั้งในเวลาเดียวกัน (synchronously) และต่างเวลากัน (Asynchronously)
โดยยึดหลักการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียนในการเลือกใช้อุปกรณ์สนับสนุนการอภิปรายออนไลน์
ให้กิจกรรมการอภิปรายทางออนไลน์ของผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลผู้เรียน เช่น ผู้สอนเข้าไปดูการอภิปรายของผู้เรียนที่เขียนไว้ใน บอร์ดออนไลน์ เป็นต้น และผู้สอนควรลดเวลาในการเรียนในชั้นเรียน (face-to-face) ลง ระหว่างที่ผู้เรียนมีกิจกรรมทางออนไลน์
  1. ผู้เรียนจำแนกข้อมูลได้(Information distribution) ผู้สอนอาจเขียนบทความ เนื้อหาหรืออาจจะเป็น Video ที่จะเรียนไว้ใน Web Ct เพื่อให้ผู้เรียนศึกษาไว้ล่วงหน้าก่อนเข้าเรียนและหลังจากจบการเรียนการสอนแต่ละครั้งผู้สอนควรแจกจ่ายไฟล์เอกสารที่ใช้ในการสอนแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ในการทบทวน เช่น Power point file
  2. ผู้เรียนสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ(Efficient management) มีระบบ Web Ct ที่สามารถตรวจสอบการ Log-in , Log-out ได้ ของผู้เรียนและสามารถบันทึกวันและเวลาใช้งานได้ผู้สอนเตรียมส่งข้อมูลย้อนกลับให้แก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแจ้งผลการเรียนอาจจะใช้วิธีที่หลากหลายในการส่งข้อมูล เช่น แจ้งให้ทราบทาง Web Board หรือแจ้งให้ทราบเป็นรายบุคคลผ่าน e-mail. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งข้อมูลย้อนกลับ
อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) คือ การเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมและถูกต้องที่สุดกับจุดประสงค์ของการเรียนรู้นั้นโดยยึดความแตกต่างของผู้เรียนเป็นสำคัญพร้อมกันนั้น การติดตามผลและประเมินผลโดยการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้พัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างชัดเจนอันจะทำให้ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากขึ้นและเกิดความคงทนในความรู้ที่ได้รับ
ที่มา